ชีวประวัติและแนวคิด ของ เอดูอาร์ท แบร์นชไตน์

แบร์นชไตน์เกิดในเมืองเชอเนอแบร์ค (ปัจจุบันคือส่วนหนึ่งของกรุงเบอร์ลิน) ในตระกูลเชื้อสายยิว บิดาเป็นพนักงานขับหัวรถจักร แบร์นชไตน์ทำงานเป็นเสมียนธนาคารระหว่าง ค.ศ. 1866–1878[1] บทบาททางการเมืองของแบร์นชไตน์เริ่มขึ้นใน ค.ศ. 1872 เมื่อเขาสมัครเป็นสมาชิกพรรคสังคมนิยมสายลัทธิมาคส์ที่มีชื่ออย่างเป็นทางการว่าพรรคแรงงานสังคมประชาธิปไตย

วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในเยอรมนีระหว่าง ค.ศ. 1873–1890 ทำให้แบร์นชไตน์มองเห็นความเปราะบางของระบอบทุนนิยมและเชื่อมั่นในระบอบสังคมนิยม แต่อุปนิสัยส่วนตัวทำให้เขาเป็นนักสังคมนิยมที่ยืดหยุ่นไม่ได้ซ้ายจัด แบร์นชไตน์นิยมความเป็นรูปธรรมมากกว่าการยึดโยงอยู่กับอุดมคติแบบมาคส์ เขามองสังคมนิยมแบบมาคส์ว่ารุนแรงและเคร่งครัดจนเกินไป ตัวเขาเชื่อมั่นในวิถีประชาธิปไตยและแนวทางสันติอยู่

แบร์นชไตน์จำเป็นต้องลี้ภัยไปสวิตเซอร์แลนด์เมื่อนายกรัฐมนตรีบิสมาร์คออกกฎหมายต่อต่านลัทธิสังคมนิยมซึ่งห้ามการชุมนุมและตีพิมพ์เอกสารของพรรค[2][3] แม้ขณะนั้นพรรคประชาธิปไตยสังคมมีที่นั่งอยู่ในสภาไรชส์ทาคเพียงสิบสองคน ระหว่างที่ลี้ภัยทางการเมือง ใน ค.ศ. 1881 แบร์นชไตน์เป็นบรรณาธิการของวารสาร [Der Sozialdemokrat] ข้อผิดพลาด: {{Lang}}: ข้อความมีมาร์กอัปตัวเอียง (ช่วยเหลือ) ของพรรคฯ ซึ่งทำตีพิมพ์ขึ้นในนครซือริช เมืองที่เป็นศูนย์รวมของนักสังคมนิยมชาวเยอรมันจำนวนมากที่ระหกระเหินอยู่นอกประเทศ แบร์นชไตน์ใช้เวลาในสวิสพอสมควรกว่าที่จะเริ่มคิดว่าตนเองชอบความคิดของคาร์ล มาคส์[4]

บิสมาร์คกดดันรัฐบาลสวิสอย่างหนัก จนในที่สุด รัฐบาลสวิสก็เนรเทศแบร์นชไตน์ออกจากประเทศใน ค.ศ. 1888 ตั้งแต่นั้นมาเขาจึงย้ายฐานการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ไปอยู่ที่กรุงลอนดอน ซึ่งในช่วงนี้เอง เขามีความสนใจประวัติศาสตร์และเศรษฐศาสตร์จนได้สนิทสนมกับฟรีดริช เอ็งเงิลส์ ผู้ร่วมงานและผู้เกื้อกูลคาร์ล มาคส์ แบร์นชไตน์ได้ใกล้ชิดกับบรรดาสมาชิกแถวหน้าของสมาคมเฟเบียน อันเป็นกลุ่มนักสังคมนิยมในอังกฤษ

หลัง ค.ศ. 1896 แบร์นชไตน์เริ่มตีพิมพ์บทความชุดเกี่ยวกับทัศนะทางการเมืองของเขา และส่งไปยังที่ประชุมของพรรคฯ ในเมืองชตุทท์การ์ทใน ค.ศ. 1898 เขาเห็นว่าคำพยากรณ์ที่ลัทธิมาคส์เคยทำนายเอาไว้ไม่ตรงกับยุคสมันอีกต่อไป ระบอบทุนนิยมขยายตัวขึ้น ค่าจ้างของแรงงานสูงขึ้น แต่ความขัดแย้งระหว่างชนชั้นก็ไม่ได้รุนแรงอย่างที่นักลัทธิมาคส์เคยคิดไว้ และชนชั้นกลางเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เศรษฐกิจทุนนิยมนอกจากจะไม่ล่มสลายแล้วแต่กลับแข็งแกร่งขึ้นอย่างมั่นคง และนั้นทำให้แบร์นชไตน์กลายเป็นผู้นำของสำนักทรรศนะใหม่ (Revisionist school) เขามองว่าการต่อสู้ของชนชั้นกรรมกรที่เป็นอยู่เป็นทางที่ไม่ยั่งยืนและเหมาะสม

เมื่อแบร์นชไตน์เดินทางกลับเยอรมนีใน ค.ศ. 1901 เขาเริ่มเผยแพร่ความคิดใหม่ที่ว่า สังคมนิยมคืออุดมการณ์ที่อยู่ปลายทางของเสรีนิยม หาใช่อุดมการณ์ที่เกิดจากการล้มล้างนายทุนชนชั้นกลาง เขาเสนอว่านักสังคมนิยมควรเลิกมองว่าชนชั้นกลางเป็นผู้กดขี่และเป็นกาฝากสังคมได้แล้ว เขาเสนอว่าแนวทางอันสำเร็จยั่งยืนยาวอยู่ที่การปฏิรูปทีละเล็กน้อยแต่มั่นคงมากกว่าการปฏิรูปแบบล้างกระดานจนทำให้เศรษฐกิจพังทลาย ข้อเสนอต่างๆของเขาถูกเพิกเฉยโดยที่ประชุมพรรคฯ แต่ได้รับการตอบรับที่ดีจากบรรดาผู้นำสหภาพแรงงานในเยอรมนีและประเทศอื่น ต่อมาใน ค.ศ. 1902 แบร์นชไตน์ได้เป็นสมาชิกสภาไรชส์ทาคจากพรรคสังคมประชาธิปไตย ทำให้แนวคิดสังคมนิยมวิวัฒน์ของเขาเริ่มเป็นที่แพร่หลายและยอมรับ

ใกล้เคียง

เอดูอาร์ท บูคเนอร์ เอดูอาร์ท แบร์นชไตน์ เอดูอาร์ท เจ้าชายแห่งอันฮัลท์ เอดูอาร์ท ฟ็อน เบิม-แอร์ม็อลลี เอดูอาร์ท เชินเฟ็ลท์ เอดูอาร์ด เชวาร์ดนัดเซ เอดูอาร์โด อาโญ เอดูอาร์โด ฟาร์จาร์โด เอดูอาร์ แฟร็อง